วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ผลไม้อีสานบ้านเฮา เเท้ๆ

              
                 กระผม นาย วรวุฒิ  ราชชิต นักศึกษาสาขาวิชา การพัฒนาชุมชน     blog  นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลเกี่ยวกับผลไม้อีสาน  เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษา


หมากเม่า



ชื่อท้องถิ่น:บักเม่า
ชื่อสามัญ:
มะเม่า
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Antidesma velutinosum Blume
ชื่อวงศ์:
Stilaginaceae.
ลักษณะวิสัย/ประเภท:
ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และผลจะสุกในช่วงเดือน    สิงหาคม - กันยายน
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:  
  น้ำผลไม้ ไวน์เม่า แยม กวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯ           ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว เปลือกต้นเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ

หมากแงว



ชื่อท้องถิ่น:บักแงว
ชื่อสามัญ:คอแลน
ชื่อวิทยาศาสตร์:
'Nephelium hypoleucum' Kurz
ชื่อวงศ์: Sapindaceae
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:ผลใช้รับประทานแทนยาระบายได้  

บักเดื่อ


ชื่อท้องถิ่น :  บักเดื่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์   :    Ficus racemosa Linn
ชื่อวงศ์
   :   
MORACEAE
ชื่อสามัญ  
:    
อุดรธานี-อีสาน เรียก หมากเดื่อ   แม่ฮ่องสอน-กะเหรี่ยง เรียก กูแช      ลำปาง เรียก มะเดื่อ      ภาคกลาง เรียก มะเดื่ออุทุมพร มะเดื่อชุมพร มะเดื่อเกลี้ยง        ภาคเหนือ-กลาง เรียก มะเดื่อ เดื่อเกลี้ยง       ภาคใต้ เรียก เดื่อน้ำ
ลักษณะทั่วไป   :   มะเดื่อเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา
สรรพคุณทางยา   :    เปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล สมานแผล แก้ประดง ผื่นคันแก้ไข้ท้องเสีย ไข้รากสาดน้อยและแก้ธาตุพิการ  ราก รสฝาดเย็น แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษไข้ และแก้ท้องร่วง
 ผล รสฝาดเย็น แก้ท้องร่วง และสมานแผล       ผลสุก เป็นยาระบาย

หมากเล็บแมว


ชื่อท้องถิ่น:หมากเล็บแมว
ชื่อสามัญ:เล็บแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Ziziphus oenoplia (L.) Mill. var. oenoplia
ชื่อวงศ์:
RHAMNACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้พุ่ม


หมากมอน


ชื่อสามัญ  หม่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์  
:   Morus alba L.
ชื่อวงศ์   
:   Moraceae
ลักษณะ  หม่อน   
เป็นพืชอาหารตามธรรมชาติชนิดเดียวของหนอนไหม และเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเสี้ยงไหม ปริมาณผลผลิตและคุณภาพรังไหมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพใบหม่อน หม่อนเป็นพืชที่มีอายุนาน 80-100 ปี ถ้าไม่ได้รับความกระทบกระเทือน จากการเก็บเกี่ยวหรือโรค แมลงศัตรู สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน หม่อนที่เกิดในเขตอากาศหนาว จะหยุดพักไม่เจริญเติบโต นับตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่าง จนถึงฤดูใบไม้ผลิ
ประโยชน์  
ใบ    : สามารถนำไปทำเป็นชาสำหรับชงน้ำร้อนดื่มโดยจะทำในรูปชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง หรือ รับประทานใบและยอดอ่อนโดยตรงโดยการใส่ในต้ม หรือแกงก็ได้
            ผลแปรรูปเป็นน้ำผลหม่อนเข็มข้นหรือพร้อมดื่ม และเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารต่าง
เช่น

ไอศกรีม แยม เยลลี่ ข้าวเกรียบ ขนมพายลูกหม่อน รวมทั้งการผลิตเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไวน์

บักเหลี่ยม


ชื่อพื้นเมือง ชื่อท้องถิ่น  :   หมากเหลี่ยม
ชื่อสามัญ 
:  มะกอกเกลื้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ 
:  Canarium  sublatum  Guillaumin
ชื่อวงศ์  :  Burseraceae
ชื่ออื่นๆ  :  กอกก้น (อีสาน)  ซาลัก  (เขมร)   มะเกิ้ม  (เหนือ) 
ลักษณะ
  :  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง  10-15 เมตร 
ประโยชน์/สรรพคุณทางยา 
:  เนื้อในเมล็ดมัน  ผลนำไปดอง  ผลที่มีรสฝาดแก้ไอ  ขับเสมหะ  แก่นแก้โลหิตกระดูกพิการ  แก้ประดง  ใช้ทาแก้ผื่นคัน