วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

หมากตูม




ชื่อท้องถิ่น  :  บักตูม, หมากตูม
ชื่อสามัญ  :
   Bael, Bengal Quince, Bilak
ชื่อวิทยาศาสตร์  :
   Angle Marmelos
ชื่อวงศ์  :   Rutaceae
ชื่อท้องถิ่น  :    - ทั่วไป เรียก มะตูม
                        - ภาคเหนือ เรียก มะปิน
                        - ภาคใต้ เรียก ตู้, กะทันตา, เถร, ตูม, ตุ่มตัง
                        - ภาคอีสาน เรียก บักตูม, หมากตูม
                        - ล้านช้าง เรียก ตุ่มตัง
ลักษณะวิสัย/ประเภท  :   มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบใหญ่ยาวสีเขียวอ่อน ลำต้นโตสีค่อนข้างขาว มีหนามแหลมคมและยาว ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม ผลกลมโต เปลือกแข็ง เนื้อข้างในมีสีนวลออกทางเหลืองอ่อน มีเมล็ดมาก ยางที่อยู่โดยรอบเมล็ดจะเป็นเมือกเหนียว เนื้อมะตูมจากผลแก่จัด นำมาเชื่อมกับน้ำตาล เป็นมะตูมเชื่อม หรือเอาผลอ่อนมาหั่นบางๆ ตากแดดใช้เป็นชามะตูม โดยต้มเอาน้ำมาดื่ม
การปลูก ต้นมะตูมป่ามักเกิดตามป่าดงทั่วไป โดยเฉพาะป่าเบญจพรรณ เจริญงอกงามได้ในดินทั่วไปทุกภาค การปลูกนิยมตอนเอากิ่งมาปลูกจะได้ผลดี หรือเอาเมล็ดมาเพาะก็ได้ โดยเอาต้นกล้าที่ปลูกเอาไว้ในถุงพลาสติก รอจนต้นแข็งแรงเสียก่อนจึงเอาไปปลูกในหลุมต่อไป ดูแลรดน้ำเป็นระยะ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์   :  สรรพคุณทางยา
                                        - เปลือกรากและลำต้น แก้ไขจับสั่น ขับลมในลำไส้
                                        - ใบสดคั้นเอาน้ำแก้หวัด หลอดลมอักเสบ ตาอักเสบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น